วันอังคารที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2561

👄การจัดการงานอาชีพ👄

☕การจัดการ หมายถึง กระบวนการจัดการทรัพยากร เงิน งาน บุคคล ให้เป็นไปเพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดของกิจการตามเป้าหมายที่วางไว้ การจัดการจึงประกอบไปด้วยกระบวนการต่อไปนี้ 1. การวางแผน  2. การจัดองค์การ  3. การบังคับบัญชาสั่งการ 4. การประสานงาน 5. การควบคุม ดังนั้นตัวชี้วัดว่าการจัดการจะประสบความสำเร็จหรือไม่จึงขึ้นอยู่กับทักษะของผู้บริหารว่าสามารถจัดการกระบวนการข้างต้นได้ดีเพียงใด

☕กระบวนการในการจัดการ☕
1.การวางแผน หรือ Planning  ในข้อนี้เป็นเรื่องปกติของการทำงานที่เป็นระบบต้องมีการวางแผนก่อนว่า จะทำอะไร อย่างไร และมีการคาดการณ์ถึงผลลัพธ์ที่ต้องการ
2.การจัดองค์การหรือ Organizing ในข้อนี้เป็นการจัดการเกี่ยวกับตัวโครงสร้างของหน่วยงาน ตลอดจนถึงลำดับการควบคุมดูแลกิจการเพื่อขับเคลื่อนงานไปสู่เป้าหมายที่ได้วางแผนไว้ โดยเน้นที่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
3.การบังคับบัญชาสั่งการ หรือ Commanding เป็นการสั่งงานตามลำดับการบังคับบัญชาที่ได้จัดองค์การเอาไว้แล้ว ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชาขับเคลื่อนงานในหน้าที่ให้มุ่งสู่ความสำเร็จ ซึ่งภาระของผู้บริหารต้องใช้ความสามารถหลายด้านตั้งแต่ชักจูง หว่านล้อม สร้างแรงกดดัน ฯลฯ ที่จะทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงานตามคำสั่งอย่างมีประสิทธิภาพ
4.การประสานงาน หรือ Coordinating เนื่องจากงานองค์การยิ่งมีขนาดใหญ่เท่าไร ยิ่งต้องใช้คนทำงานหลากหน้าที่เท่านั้น สิ่งสำคัญที่จะให้หลายคน ต่างความคิด คนละความรับผิดชอบร่วมมือกันทำงานในหน้าที่ของตนเพื่อเป้าหมายเดียวกันคือความสำเร็จโดยไม่เกิดความขัดแย้ง จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการจัดการในเรื่องการประสานงานให้ดี
5.การควบคุม หรือ Controlling ขั้นตอน วิธีการ บุคลากร มีครบถ้วน สิ่งที่ขาดไม่ได้คือการควบคุมให้ทุกอย่างอยู่ในกระบวนการตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงผลสำเร็จให้ได้ตามวันเวลาที่กำหนด และคุณภาพที่ต้องการการจัดการกระบวนการ
☕ความหมายของอาชีพ☕
อาชีพ  คือการทำมาหากินของมนุษย์  เป็นการแบ่งหน้าที่การทำงานของคนในสังคม  และทำให้ดำรงอาชีพในสังคมได้  บุคคลที่ประกอบอาชีพจะได้ค่าตอบแทน หรือรายได้ที่จะนำไปใช้จ่ายในการดำรงชีวิต  และสร้างมาตรฐานที่ดีให้แก่ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ                      
ความจำเป็นของการประกอบอาชีพมีดังนี้
1.  เพื่อตนเอง การประกอบอาชีพทำให้มีรายได้มาจับจ่ายใช้สอยในชีวิต
2.  เพื่อครอบครัว ทำให้สมาชิกของครอบครัวได้รับการเลี้ยงดูทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
3.  เพื่อชุมชน ถ้าสมาชิกในชุมชนมีอาชีพและมีรายได้ดีจะส่งผลให้สมาชิกมีความเป็นอยู่ดีขึ้น อยู่ดีกินดี ส่งผลให้ชุมชนเข้มแข็งและพัฒนาตนเองได้
4.  เพื่อประเทศชาติ  เพื่อประชากรของประเทศมีการประกอบอาชีพที่ดี  มีรายได้ดี  ทำให้มีรายได้ที่เสียภาษีให้กับรัฐบาลมีรายได้ไปใช้บริหารประเทศต่อไป
                        มนุษย์ไม่สามารถผลิตสิ่งต่างๆมาสนองความต้องการของตนเองได้ทุกอย่างจำต้องมีการแบ่งกันทำและเกิดความชำนาญ จึงทำให้เกิดการแบ่งงานและแบ่งอาชีพต่างๆขึ้น สาเหตุที่ต้องมีการแบ่งอาชีพมีดังนี้
1.  ความรู้ความสามารถของแต่ละคนแตกต่างกัน
2.  ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์และภูมิประเทศที่แตกต่างกัน
3.  ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ที่แตกต่างกัน
การแบ่งงานและอาชีพให้เกิดประโยชน์ ดังนี้
1.  สามารถตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันได้
2.  ได้ทำงานที่ตนเองถนัด
3.  ทำให้กิดการขยายตัวของธุรกิจในด้านต่างๆ

กลุ่มอาชีพตามลักษณะการประกอบอาชีพ มี 2 ลักษณะ คือ อาชีพอิสระ และอาชีพรับจ้าง
1. อาชีพอิสระ หมายถึงอาชีพทุกประเภทที่ผู้ประกอบการดำเนินการด้วยตนเอง
แต่เพียงผู้เดียวหรือเป็นกลุ่ม อาชีพอิสระเป็นอาชีพที่ไม่ต้องใช้คนจำนวนมาก แต่หากมีความจำเป็นอาจมีการจ้างคนอื่นมาช่วยงานได้ เจ้าของกิจการเป็นผู้ลงทุน และจำหน่ายเอง คิดและตัดสินใจด้วยตนเองทุกเรื่อง ซึ่งช่วยให้การพัฒนางานอาชีพ เป็นไปอย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ การประกอบอาชีพอิสระ เช่น ขายอาหาร ขายของชำ ซ่อมรถจักรยานยนต์ ฯลฯ ในการประกอบอาชีพอิสระ ผู้ประกอบการจะต้องมีความรู้ ความสามารถในเรื่อง การบริหาร การจัดการ เช่น การตลาด ทำเล ที่ตั้ง เงินทุน การตรวจสอบ และประเมินผล เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องมีความอดทนต่องานหนัก ไม่ถ้อถอยต่อ ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และมองเห็นภาพการดำเนินงาน ของตนเองได้ทะลุปรุโปร่ง 

              2. อาชีพรับจ้าง หมายถึง อาชีพที่มีผู้อื่นเป็นเจ้าของกิจการ โดยตัวเองเป็นผู้รับจ้าง ทำงานให้ และได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าจ้าง หรือเงินเดือน อาชีพรับจ้างประกอบด้วย บุคคล 2 ฝ่าย ซึ่งได้ตกลงว่าจ้างกัน บุคคลฝ่ายแรกเรียกว่า "นายจ้าง" หรือผู้ว่าจ้าง
บุคคลฝ่ายหลังเรียกว่า "ลูกจ้าง" หรือผู้รับจ้าง มีค่าตอบแทนที่ผู้ว่าจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ ผู้รับจ้างเรียกว่า "ค่าจ้าง"
การประกอบอาชีพรับจ้าง โดยทั่วไปมีลักษณะ เป็นการรับจ้างทำงานในสถาน ประกอบการหรือโรงงาน เป็นการรับจ้างในลักษณะการขายแรงงาน โดยได้รับค่าตอบ แทนเป็นเงินเดือน หรือค่าตอบแทนที่คิดตามชิ้นงานที่ทำได้ อัตราค่าจ้างขึ้นอยู่กับการกำหนด
ของเจ้าของสถานประกอบการ หรือนายจ้างการทำงานผู้รับจ้างจะทำอยู่ภายในโรงงาน ตามเวลาที่นายจ้างกำหนด การประกอบอาชีพรับจ้างในลักษณะนี้มีข้อดีคือ ไม่ต้องเสี่ยง กับการลงทุน เพราะลูกจ้างจะใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ที่นายจ้างจัดไว้ให้ทำงานตามที่นายจ้าง
กำหนด แต่มีข้อเสีย คือ มักจะเป็นงานที่ทำซ้ำ ๆ เหมือนกันทุกวัน และต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบของนายจ้าง ในการประกอบอาชีพรับจ้างนั้น มีปัจจัยหลายอย่างที่เอื้ออำนวยให้ผู้ประกอบอาชีพ รับจ้างมีความเจริญก้าวหน้าได้ เช่น ความรู้ ความชำนาญในงาน มีนิสัยการทำงานที่ดี มีความกระตือรือร้น มานะ อดทน ในการทำงาน ยอมรับกฎเกณฑ์และเชื่อฟังคำสั่ง มีความซื่อสัตย์ สุจริต ความขยันหมั่นเพียร รับผิดชอบ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี รวมทั้ง สุขภาพอนามัยที่ดี อาชีพต่าง ๆ ในโลกมีมากมาย หลากหลายอาชีพ ซึ่งบุคคลสามารถจะเลือกประกอบ อาชีพได้ตามความถนัด ความต้องการ ความชอบ และความสนใจ ไม่ว่าจะเป็นอาชีพ ประเภทใด จะเป็นอาชีพอิสระ หรืออาชีพรับจ้าง ถ้าหากเป็นอาชีพที่สุจริตย่อมจะทำให้ เกิดรายได้มาสู่ตนเอง และครอบครัว ถ้าบุคคลผู้นั้นมีความมุ่งมั่น ขยัน อดทน ตลอดจน มีความรู้ ข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพต่าง ๆ จะทำให้มองเห็นโอกาสในการเข้าสู่อาชีพ และพัฒนา อาชีพใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นอยู่เสมอ
 
  ประเภทของอาชีพ
             ประเภทของของอาชีพแบบออกเป็น 3 ด้านคือ
ด้านอุตสาหกรรม หรือ หัตถกรรม  จำแนกตามลักษณะของการดำเนินการได้เป็น 4 ลักษณะ ดังนี้
       1. การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมหรือหัตถกรรมในครัวเรีอน
       2. การผลิตสินค้าในโรงงานหรือสถานประกอบการขนาดเล็ก
       3. การผลิตสินค้าที่ผู้ว่าจ้างนำเครื่องมือหรืออุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการผลิตมาให้
       4. การรับช่วงงานบางขั้นตอนของการผลิตมาดำเนินการ 
การผลิตสิรนค้าด้านอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น

    - จักรสาน ,ทอเสื่อ
    - เย็บผ้าใบ
    - ทำยางแผ่น
    - ทำเสื้อยืดผ้าปาติก
    - ประดิษฐ์ที่ติดผม
    - ประดิษฐ์สิ่งของจากกระดาษสา
    - ประดิษฐ์ของที่ระลึกและของชำร่วย
    - ร้อยพวงมาลัยดอกพุดส่งร้านขายพวงมาลัย
    - เย็บเสื้อสำเร็จรูป
    - เผาถ่าน
    - ทำไส้กรอกอีสาน
    - ทำขนมจีบ 

  การผลิตสินค้าในโรงงานหรือสถานประกอบการขนาดเล็ก เช่น

    - ทำเครื่องประดับทองเหลือง
    - ทำเครื่องหนัง
    - ทำเฟอร์นิเจอร์
    - ทำเชิงเทียน
    - โต๊ะเก้าอี้เหล็กดัด
    - ทำอิฐบล็อก
    - แปรรูปน้ำนมเพื่อการค้า
    - ทำรางน้ำอลูมิเนียม
    - ทำยางมะตอย 
2.ด้านเกษตรกรรม จำแนกตามลักษณะการดำเนินงานเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
    1.เลี้ยงสัตว์
    2.ทำไร่  ทำสวน
    3.ทำนา 
อาชีพทางด้านการเลี้ยงสัตว์  เช่น

   - เลี้ยงหมู
   - เลี้ยงโคเนื้อ  โคนม
   - เลี้ยงผึ้ง
   - เลี้ยงแพะ
   - เลี้ยงกบ
   - เลี้ยงหอยแมลงภู่แบบแขวนเชือก  , หอยนางรม
   - เลี้ยงไหมเกษตร
   - เลี้ยงปลาเกาในกระด้ง  ปลาดุก  ปลาตะเพียน
   - เลี้ยงเป็ดเทศ 
อาชีพการทำไร่ทำสวน  เช่น

  - ไร่กระชาย
  - สวนส้มโอ
  - สวนมะม่วง
  - สวนมังคุด
  - สวนทุเรียน
  - สวนมะลิ
  - สวนไม้ดอกไม้ประดับ
  - ปลูกพืชสวนครัว
อาชีพทำนาส่วนใหญ่จะแบ่งพืชที่นาทำเป็นไร่   นา  และสวนผสม  เพื่อให้มีรายได้ต่อเนื่องตลอดปี เช่น  ทำนากุ้ง  เป็นต้น

3.ด้านพาณิชยกรรมและบริการ  จำแนกตามลักษณะการดำเนินการเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
      1.ค้าขายสินค้า
      2.บริการ
      3.เป็นคนกลางรับซื้อ-ขาย 
อาชีพค้าขาย เช่น

     - ขายสินค้าพื้นเมือง
     - ขายก๋วยเตี๋ยว
     - ขายอาหาร
     - ขายสินค้าเบ็ดเตล็ด
     - ขายของชำ
     - ขายสินค้าสำเร็จรูป
     - ขายขนม
     - ขายผลไม้
     - ขายอาหารและเครื่องดื่ม
     - ขายลอตเตอรี่
     - ขายตุ๊กตา
     - ข่ายปาท่องโก๋
    - ขายอาหารทะเลสด
    - ขายสัตว์เลี้ยง
    - ขายตั๋วเครื่องบิน
    - ขายเฟอร์นิเจอร์
     - ขายเครื่องสำอาง
     - ขายเครื่องประดับทำด้วยเงิน
     - ขายทองรูปพรรณ
     - ขายดอกไม้สด
     - ขายแก็สหุงต้ม
     - ขายตรงเครื่องสำอาง
     - ขายผลผลิตทางการเกษตร
     - สินค้าอุตสาหกรรมที่ตนเองเป็นผู้ผลิต 
อาชีพบริการ เช่น
 
      - ช่างซ่อมรถยนต์
      - ช่างเคาะปะผุและพ่นสีรถยนต์
      - ช่างซ่อมเบาะรถยนต์
      - ช่างซ่อมโทรทัศน์ วิทยุ
      - ช่างซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า
      - ช่างเชื่อมโลหะ
      - ช่างทำหลังคาอะลูมิเนียม
      - ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า
      - ช่างเสริมสวย
      - ช่างแต่งหน้า นวดหน้า
      - ช่างทำผม
      - ช่างตัดผมบุรุษ
      - ช่างเขียนภาพเหมือน
      - ช่างศิลป์ทำโปสเตอร์โฆษณา
      - ช่างก่อสร้าง
      - ช่างจัดดอกไม้สด,ดอกไม้แห้ง
      - รับเลี้ยงเด็กอ่อน
      - บริการซักอบรีด
      - บริการให้เช่าวีดีโอ,หนังสืออ่านเล่น
      - บ้านพักตากอากาศ,หอพัก
      - สกูตเตอร์ชายหาด,รถเช่า
     - ขับรถแท็กซี่,มอเตอร์ไซด์รับจ้าง,รถรับจ้างระหว่างหมู่บ้าน,สามล้อ
        - บริการถ่ายเอกสาร,รับพิมพ์รายงาน
        - เล่นดนตรีในร้านอาหาร
        - รับเหมาแกะหอยนางรม
        - รับเหมาสับตระไคร้ส่งโรงงาน
        - รับเหมาก่อสร้าง 
อาชีพเป็นคนกลางรับซื้อ-ขาย  เช่น

        - คนกลางรับซื้อและขายพริก
        - คนกลางรับซื้อและขายกุ้ง
        - คนกลางรับซื้อและขายเกลือ
        - คนกลางรับซื้อและขายเศษยางพาราและยางแผ่น
  เป็นต้น 

☕การประกอบอาชีพของคนไทย☕
                        การทำมาหากินของคนไทยสมัยก่อน คือการทำไร่  ทำนา  ทอผ้า  ทำเครื่องจักสานไว้ใช้ที่เหลือก็จะจำหน่ายในชุมชน  คนไทยบางกลุ่มจะเป็นข้าราชการเมื่อบริษัทต่างชาติมาลงทุนในประเทศไทย ทำให้มีการจ้างงาน และมีอาชีพให้คนไทยเลือกทำมากขึ้น


☕ลักษณะอาชีพของคนไทย☕
1.  งานเกษตรกรรม เช่น  ปลูกพืช  เลี้ยงสัตว์  การประมง
2.  งานอุตสาหกรรม เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับความถนัดด้านช่างสาขาต่างๆ และเครื่องจักรเพื่อผลิตสินค้าและบริการต่างๆ
3.  งานธุรกิจ เป็นงานด้านการค้าขาย  การทำบัญชี การจัดการธุรกิจ  การติดต่อสื่อสารเทคโนโลยีสารสนเทศ
4.  งานคหกรรม  เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาหาร เย็บปักถักร้อย  ตกแต่งบ้าน
5.  งานศิลปกรรม  เป็นงานที่มีความละเอียดอ่อน ความคิดสร้างสรรค์ด้านศิลปกรรมของไทย เช่น งานหัตถกรรม  ประติมากรรม  จิตรกรรม
การพัฒนาอาชีพ (Career development)  จึงหมายถึง  กระบวนการซึ่งองค์การจัดขึ้นเพื่อช่วยเหลือบุคลากรในการจัดการกับอาชีพของตนเอง  (De Cenzo & Robbins, 1994)  ซึ่งอาจจะได้แก่การประเมินศักยภาพของบุคคล  กำหนดเส้นทางอาชีพที่เหมาะสม  วางแผน และฝึกอบรม  เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมีกรพัฒนาและความก้าวหน้าในงาน
ประโยชน์ของการพัฒนาอาชีพ
            การพัฒนาอาชีพของบุคลากร  มีความสำคัญและก่อให้เกิดประโยชน์แก่องค์การหลายประการ ดังต่อไปนี้คือ
©  ช่วยรับประกันว่าบุคลากรที่มีความสามารถจะอยู่กับองค์การต่อไป บุคลากรที่มีความสามารถและประสบการณ์ ย่อมเป็นที่ต้องการขององค์การทุกแห่งและบุคคลเหล่านี้สามารถที่จะหางานใหม่ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย  หากพวกเขารู้สึกว่าองค์การไม่ได้ให้ความสำคัญแก่พวกเขา  และไม่ได้รับนโยบายหรือมาตรการใด ๆ ที่จะส่งเสริมความก้าวหน้าในอาชีพแก่พวกเขาแล้ว  โอกาสที่พวกเขาจะลาออกจากงานก็มีสูงยิ่งขึ้น  ดังนั้น  โครงการด้านการพัฒนาอาชีพจะเป็นสิ่งเหนี่ยวรั้งมิให้บุคลากรที่มีความสามารถเหล่านี้ออกจากองค์การไป
©  ช่วยให้องค์การสามารถดึงบุคลากรที่มีความสามารถสูงเข้ามาทำงานได้มากขึ้น  บุคคลที่มีความสามารถสูงมักจะพิจารณาเลือกทำงานกับองค์การ  ซึ่งให้ความสำคัญต่ออนาคตและความก้าวหน้าของบุคลากร ดังนั้น หากองค์การใดที่มีโครงการด้านการพัฒนาอาชีพ  ก็ย่อมจะมีความได้เปรียบในการดึงดูดบุคลากรเหล่านั้นให้เข้ามาทำงานกับตนเอ
©  ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์การ  องค์การที่ให้ความสำคัญและความสนใจแก่อนาคตและความก้าวหน้าของบุคลากร  ย่อมจะทำให้ทั้งบุคลากรภายในองค์การและบุคลากรภายนอกองค์การนั้นด้วยความรู้สึกที่ดี   ซึ่งจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์และชื่อเสียงให้องค์การเป็นอย่างดี

©  ช่วยให้บุคลากรมีการพัฒนาตนเองและลดความล้าสมัย  การทำงานในตำแหน่งหนึ่ง ๆ อันอาจจะทำให้บุคลากรล้าหลังต่อความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ดังนั้น  การพัฒนาอาชีพจะช่วยให้บุคลากรมีการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา  ทั้งนี้เพราะบุคลากรเหล่านั้นจำเป็นต้องเพิ่มพูนความรู้และความสามารถต่าง ๆที่จำเป็นก่อนที่จะสามารถก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งอื่น ๆ

ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จในงานอาชีพ
1. ความต้องการมุ่งความสำเร็จ (Need for Achievement) มุ่งมั่นใช้กำลังกาย กำลังความคิด สติปัญญาและความสามารถทั้งหมด พร้อมทั้งทุ่มเทเวลาให้กับงาน โดยไม่คำนึงถึงความยากลำบาก เพื่อให้งานบรรลุความสำเร็จที่มุ่งหวังไว้
2. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity  Thinking) กล้าประดิษฐ์ กล้าคิดค้นสิ่งที่แปลกใหม่
มีความสามารถในการบริหารงานและมีความเป็นผู้นำที่ดี (Management and Leadership Capability) มีลักษณะการเป็นผู้นำ  รู้จักหลักการบริหารจัดการที่ดี ภาวการณ์เป็นผู้นำจะแตกต่างไปตามระยะการเจริญเติบโตของธุรกิจ
3. มีความเชื่อมั่นในตนเอง (Be Self-Confident) มีความเป็นอิสระและรู้จักพึ่งตนเอง  มีความมั่นใจ  มีความเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว มีลักษณะเป็นผู้นำ มีความเชื่อมั่นที่จะประสบความสำเร็จ
4. จักผูกพันต่อเป้าหมาย (Addicted to Goals) เมื่อมีเป้าหมายจะต้องทุ่มเททุกอย่างเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และมีความคิดผูกพันที่จะเอาชนะ
5. มีวิสัยทัศน์กว้างไกล (Visionary)  เป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์เหตุการณ์ในอนาคตได้อย่างแม่นยำ
6. มีความรับผิดชอบ (Responsibility)  มีความรับผิดชอบต่องานที่ทำเป็นอย่างดี
7. มีความกระตือรือร้นและไม่หยุดนิ่ง (Enthusiastic)  มีการทำงานที่เต็มไปด้วยพลัง มีชีวิตชีวา มีความกระตือรือร้น ทำงานทุกอย่างโดยไม่หลีกเลี่ยง ทำงานหนักมากกว่าคนทั่วไป
8. กล้าตัดสินใจและมีความมานะพยายาม (Can Make Decision And Be Attempt) มีความกล้าตัดสินใจมีความหนักแน่นไม่หวั่นไหว เชื่อมั่นในตนเองกับงานที่ทำ
9. รู้จักประมาณตนเอง (Self-Assessment) การรู้จักประมาณตนเองไม่ทำสิ่งเกินตัว



 

     https://sueheera.weebly.com/
                   http://cswschool1.blogspot.com/
สืบค้นเมื่อ 2/1/18

วันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2560

🍹การวางแผน🍹

🍒ความหมายของการวางแผน🍒

     หน่วยงานทุกระดับทั้งภาครัฐและเอกชนจำเป็นต้องมีปัจจัยที่มีความสำคัญที่จะทำให้การดำเนินงานของหน่วยงานประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายสามารถดำเนินงานได้สอดคล้องกับกระบวนการทำงาน รวมทั้งทราบรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับกระบวนการ ระยะเวลาของการทำงานนั้นๆ หากเกิดข้อผิดพลาดจะสามารถทราบได้ทันทีว่าเกิดจากสาเหตุอะไรและสามารถทำการแก้ไขได้ทันท่วงทีที่เกิดการผิดพลาดในกระบวนการทำงานไม่ก่อให้เกิดการเสียเวลารวมทั้งสามารถตรวจสอบการทำงานและกำหนดแนวทางการทำงานในอนาคตได้เพื่อความสำเร็จของหน่วยงานปัจจัยดังกล่าว เรียกว่า การวางแผน (Planning) มาจากคำในภาษาละตินว่า Planum” ซึ่งได้มีผู้ให้ความหมายของการวางแผนไว้ 

    อุทัย บุญประเสริฐ (2538 : 19) ได้ให้ความหมายว่า การวางแผนเป็นกิจกรรมที่คาดหวังว่าจะต้องปฏิบัติ ซึ่งเป็นผลจากการค้นหาและกำหนดวิธีทำงานในอนาคตเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานและหน่วยงานมากที่สุด แสดงให้เห็นว่าจะมีการทำอะไร ทำที่ไหน เมื่อใด ให้ใครทำ ทำอย่างไร และให้รายละเอียดอื่นๆ ที่จำเป็นช่วยให้การปฏิบัติงานลุล่วงไปอย่างมีประสิทธิภาพ
    วิโรจน์ สารรัตนะ (2539 : 35-36) ได้ให้ความหมายว่า การวางแผนเป็นกระบวนการตัดสินใจเพื่อกำหนดวัตถุประสงค์และแนวทางการกระทำไว้ล่วงหน้า เพื่อให้บุคคลในองค์การปฏิบัติตามให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
    อนันต์ เกตุวงศ์ (2541 : 3-4) ได้ให้ความหมายว่า การวางแผนก็คือการตัดสินใจล่วงหน้าในการเลือกทางเลือกเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุประสงค์หรือวิธีการกระทำ โดยทั่วไปจะเป็นการตอบคำถามต่อไปนี้ คือ จะทำอะไร (What) ทำไมจึงต้องทำ (Why) ใครบ้าง ที่จะเป็นผู้กระทำ (Who) จะกระทำเมื่อใด (When) จะกระทำกันที่ไหนบ้าง (Where) และจะกระทำกันอย่างไร (How)
    Simmons (อ้างถึงใน ธงชัย สันติวงษ์. 2540 : 138) ได้ให้ความหมายว่า การวางแผนหมายถึง
🎈(1)ความหมายในแง่ของงานที่ต้องปฏิบัติของผู้บริหารแต่ละคนคือการกำหนดวัตถุประสงค์การจูงใจและสื่อความ การวัดผล และการพัฒนาบุคคล 
🎈(2) ความหมายที่มีขอบเขตกว้างกว่าที่คลุมถึงการบริหารทั้งหมด คือ กระบวนการบริหารที่ต่อเนื่อง ครอบคลุมถึงทุกกิจกรรม ของงานและมุ่งสู่อนาคต 

    Wohlstetter (อ้างถึงใน อนันต์ เกตุวงศ์. 2541 : 2) ให้คำอธิบายความหมายของการวางแผนไว้แตกต่างออกไปจากท่านอื่นๆ โดยให้ความหมายถึงวิธีการที่จำเป็นของการทำให้การตัดสินใจก้าวหน้า และเป็นสิ่งที่จะต้องมีอยู่ก่อนการกระทำ การวางแผนจะต้องหาคำตอบ 2 ประการนี้ให้ได้ คือ
🎈1) ความมุ่งหมายขององค์การหรือแผนงานคืออะไร
🎈2) อะไรคือวิธีการที่ดีที่สุดจะทำให้บรรลุผลสำเร็จของความมุ่งหมายนั้น ยิ่งกว่านั้นยังเน้นอีกต่อไปว่าการวางแผนเป็นเรื่องที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง ต้องมีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ และสามารถทำนาย การเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้
    จากความหมายของการวางแผน สรุปได้ว่า การวางแผน (Planning) หมายถึง กระบวนการในการกำหนดทิศทาง เป้าหมาย วัตถุประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคตขององค์การหรือหน่วยงานโดยเลือกวิธีทำงานที่ดีที่สุด มีประสิทธิภาพมากที่สุด ให้บรรลุผลตามที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนด และการวางแผนนั้นจะพิจารณาในประเด็นที่สำคัญ ประการ คือ
                            🎈1.จุดหมายปลายทาง (คืออะไร)
                            🎈2. วิธีการดำเนินงาน (ทำอย่างไร)
                            🎈3. ระยะเวลา (เสร็จสิ้นเมื่อไร)



🍒2. ความสำคัญของการวางแผน🍒
การวางแผนเป็นงานหลักและสำคัญในการบริหารของหน่วยงานในทุกระดับ เนื่องจากเป็นตัวกำหนดทิศทาง เป้าหมาย วิธีดำเนินการ ที่จะทำให้หน่วยงานดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนด การดำเนินงานจะประสบผลสำเร็จมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการวางแผน หากวางแผนดีก็เท่ากับดำเนินงานสำเร็จไปแล้วกว่าครึ่ง ดังนั้น การวางแผนจึงมีความสำคัญต่อการดำเนินงาน ดังนี้
©    2.1 การวางแผนเป็นหน้าที่อันดับแรกของผู้บริหาร
©   2.2 การวางแผนเป็นแนวทางปฏิบัติที่สำคัญ ผู้ปฏิบัติตามแผนสามารถศึกษาเรียนรู้วิธีการ ขั้นตอน และกระบวนการทำงานได้จากแผนก่อนที่จะลงมือปฏิบัติ
© 2.3แผนและการวางแผนเป็นตัวกำหนดทิศทางและความรู้สึกในเรื่องของความมุ่งหมายสำหรับองค์การให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนได้รู้ แผนเป็นกรอบสำหรับการตัดสินใจให้ผู้ปฏิบัติได้ อย่างดี จึงสามารถป้องกันมิให้มีการตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาแต่ละครั้งไปเท่านั้นด้วย
©    2.4 แผนและการวางแผนจะช่วยให้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน มองไปในอนาคต และเห็นโอกาสที่จะแสวงหาประโยชน์หรือกระทำการต่างๆ ให้สำเร็จตามความมุ่งหมายได้ ทั้งยังมองเห็นปัญหาอุปสรรคและภัยคุกคามต่างๆ เพื่อจะหาทางป้องกัน ตลอดจนลดภาวะความเสี่ยงต่างๆ ได้ด้วย
©    2.5 การตัดสินใจที่มีเหตุผลในการวางแผนนั้น จะมีการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ไว้ล่วงหน้า ซึ่งมีเวลาพอที่จะใช้ทั้งหลักทฤษฎี แนวความคิด และหลักการ ประกอบกับตัวเลขสถิติและข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาตัดสินใจ จึงทำให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสม             มีเหตุผลและเป็นประโยชน์ตามต้องการ
©    2.6 การวางแผนในเรื่องของการเตรียมการไว้ล่วงหน้า เมื่อมีการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายตามความต้องการ กิจกรรมต่างๆ ที่จะต้องกระทำให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และ บังเกิดผลตามเป้าหมายนั้นๆ จะต้องได้รับการพิจารณา การตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ทั้งวิธีการกระบวนการ ขั้นตอนของการกระทำ ทรัพยากรที่ต้องใช้ เวลา สถานที่และการควบคุมดูแลการทำงาน
©    2.7 การวางแผนมีส่วนช่วยให้มนุษย์เปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆได้มาก
©    2.8 การวางแผนเป็นตัวนำในการพัฒนา
🍒3. ประโยชน์ของการวางแผน🍒
           การวางแผนมีประโยชน์สำคัญหลายประการทั้งต่อผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติ รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
Ø 3.1 ป้องกันมิให้เกิดปัญหาและความผิดพลาด หรือลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในการปฏิบัติงานในอนาคต
Ø3.2ทำให้หน่วยงานมีกรอบหรือทิศทางในการปฏิบัติงานที่ชัดเจนว่าจะทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร และใครทำ ทำให้นักบริหารมีความมั่นใจในการปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จได้ง่าย
Ø 3.3 ช่วยให้เกิดการประหยัดทรัพยากรทางการบริหาร เช่น คน เงิน วัสดุอุปกรณ์ เวลา ฯลฯ
Ø 3.4 ช่วยให้การปฏิบัติงานรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ เพราะมีแผนเป็นแนวทาง เปรียบเสมือนเรือที่มีหางเสือ
Ø 3.5 ช่วยให้การปฏิบัติงานเป็นระบบ นักบริหารสามารถควบคุม ติดตามการปฏิบัติงานได้ง่าย

🍒4. ประเภทของแผน🍒
           การจำแนกประเภทของแผน ขึ้นอยู่กับบรรทัดฐานที่นำมาใช้ในการจำแนกและจัดแบ่งประเภท เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งานและง่ายต่อการทำความเข้าใจ การวางแผนอาจจำแนกเป็นประเภทต่างๆ โดยอาศัยหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกันไป การจำแนกประเภทของแผนที่สำคัญๆ มีดังนี้
4.1 จำแนกตามระดับหน่วยงาน
             เป็นแผนซึ่งระบุถึงระดับหน่วยงานที่กำหนดแผนและกำหนดวิธีการในการปฏิบัติตามแผน แผนประเภทนี้ได้แก่ แผนระดับชาติ แผนระดับกระทรวง แผนระดับกรม แผนระดับจังหวัด แผนระดับเขตพื้นที่การศึกษา แผนระดับโรงเรียน เป็นต้น
4.2 จำแนกตามวัตถุประสงค์ หรือ เป้าหมาย
             เป็นแผนซึ่งจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายโดยเฉพาะ เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการศึกษาแห่งชาติ แผนพัฒนาชนบท แผนพัฒนาแหล่งอุตสาหกรรมภาคตะวันออก เป็นต้น
4.3 จำแนกตามระยะเวลา
 แผนประเภทนี้ อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
4.3.1 แผนระยะสั้น (Short-Range Plan) คือ แผนที่ใช้ระยะเวลาดำเนินการประมาณ 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี เช่น แผนปฏิบัติการประจำปี (Action Plan or Operation Plan)ในแผนจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการดำเนินการ สถานที่ งบประมาณ และผู้รับผิดชอบ การวางแผนระยะสั้นอาจทำในรูปของแผนงาน (Program) หรือ โครงการ (Project) ซึ่งมีกิจกรรมไม่สลับซับซ้อน
4.3.2 แผนระยะปานกลาง (Intermediate-Range Plan) คือ แผนที่ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการตั้งแต่ 3-4 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี เป็นต้น
4.3.3 แผนระยะยาว (Long-Range Plan) คือ แผนที่ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการมากกว่า 5 ปี ขึ้นไป ในแผนจะกำหนดขอบเขตแนวทางไว้กว้างๆ เช่น แผนการศึกษาแห่งชาติ 15 ปี เป็นต้น
           นอกจากนั้นแผนทั้ง 3 ประเภท จะต้องประสานสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน การกำหนดแผนระยะสั้นหรือระยะปานกลางโดยไม่คำนึงถึงแผนระยะยาว ย่อมมีผลเสียหายมากกว่าที่จะได้ผลดี หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าแผนระยะสั้น หรือระยะปานกลาง อาจเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีแผนระยะยาว  และในทำนองเดียวกันแผนระยะยาวอาจไม่ประสบกับผลสำเร็จ หากไม่มีแผนระยะสั้นหรือระยะปานกลางขช่วยสนับสนุน  

ขอขอบคุณ https://sites.google.com/site/pmtech32152009/      
สืบค้นเมื่อ27/12/60             


👄การจัดการงานอาชีพ👄 ☕การจัดการ หมายถึง กระบวนการจัดการทรัพยากร เงิน งาน บุคคล ให้เป็นไปเพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดของกิจกา...