วันอังคารที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560


ความหมายขององค์การ(Organization)
นักวิชาการได้ให้ความหมายขององค์การไว้ ดังนี้
     แมกซ์ เวเบอร์ กล่าวว่า องค์การ หมายถึง หน่วยสังคมหรือหน่วยงานซึ่งมีกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งร่วมมือกันดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง
      เชสเตอร์ บาร์นาร์ด กล่าวว่า องค์การ หมายถึง ความร่วมมือกันระหว่างบุคคลหลายคนซึ่งมีความตั้งใจจริงที่จะร่วมกันดำเนินกิจกรรมให้บรรลุวัตถุประสงค์
       แทลคอตต์ พาร์สัน กล่าวว่า องค์การ หมายถึง บรรดาระบบประสานสัมพันธ์ร่วมมือกันทำงานทุกชีวิตของมนุษย์
      เอมิไท เอตชิโอนิ กล่าวว่า องค์การ หมายถึง สังคมหรือหน่วยคนที่ตั้งขึ้นอย่างจงใจ เพื่อทำงานให้บรรลุเป้าหมายที่แน่นอนอย่างใดอย่างหนึ่ง
      ธงชัย สันติวงษ์ กล่าวว่า องค์การคือการจัดระเบียบกิจกรรมให้เป็นกลุ่มก้อนเข้ารูปและการมอบหมายงายให้คนปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของงานที่ตั้งไว้
      ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ กล่าวว่า องค์การคือ กระบานการที่กำหนดกฎ ระเบียบ แบบแผนในการปฏิบัติงานขององค์การซึ่งรวมถึงวิธีการทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม
      สมบูรณ์ ศรีสุพรรณดิษฐ์ ได้เสนอความหมายขององค์การไว้ว่า เป็นระบบประสานกิจการของกลุ่มคนซึ่งร่วมงานกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายรวมภายใต้การสั่งการและความเป็นผู้นำ
      สมคิด บางโม กล่าวว่า องค์การ หมายถึง กลุ่มบุคคลหลายๆคนรวมกลุ่มกันอย่างถาวร มีการจัดระเบียบภายในกลุ่มเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของแต่ละคน
       จากความหมายขององค์การระดับต่างๆ ที่กล่าวทั้งหมดอาจสรุปได้ว่า องค์การ คือ กลุ่มบุคคลที่มาปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อให้งานดำเนินไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ โดยมีระบบของการประสานงานอย่างเหมาะสม
    ลักษณะขององค์การ 
1. เป็นโครงสร้างของความสัมพันธ์ โดยมีลักษณะสำคัญดังนี้
1. กำหนดงานให้ชัดเจน มีการแบ่งงานกันทำ สมาชิกในองค์การจะได้รับมอบหมายงานให้ทำงานตามความรู้ ความสามารถและความถนัดของแต่ละบุคคล
2. มีสายบังคับบัญชาเป็นชั้นๆ ลดหลั่นกันลงมา มีสายการบังคับบัญชาเป็นชั้นๆ ตั้งแต่ระดับ
ระดับสูงสุดลงมาถึงระดับล่างสุดขององค์การ
            3. มีวัตถุประสงค์ องค์การต้องมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน เพื่อสมาชิกขององค์การจะได้ยึดถือเป็นแนวทางในการทำงาน 
2. เป็นกลุ่มบุคคล
         กลุ่มบุคคล เกิดจากการรวมกลุ่มที่ถาวรเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันขนาดของกลุ่มเท่าใดขึ้นอยู่กับลักษณะของกิจการที่ทำ
3. เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการ
          เนื่องจากองค์การจะมีปัจจัยต่างๆ ที่จะต้องใช้ในการจัดการ เช่น เงิน วัสดุอุปกรณ์ รวมถึงคนด้วย ดังนั้น เพื่อให้มีการใช้ปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพ จึงต้องมีความชัดเจนในการจัดองค์การ
4. เป็นกระบวนการ
        เนื่องจากองค์การมีงานหรือกรรมวิธีต่างๆ ซึ่งดำเนินต่อเนื่องกันไปจนสำเร็จลง ณ ระดับหนึ่ง
5. เป็นระบบ
        ระบบเป็นการรวมสิ่งต่างๆ ในองค์การที่มีลักษณะซํบซ้อนให้เข้าลำดับประสานกันเป็นอันเดียว ประกอบด้วย 3 ระบบใหญ่ๆ คือ ทรัพยากรที่ใช้ (Resource Input) กระบวนการแปรรูป (Tranformation Process) และผลผลิต (Product Output)
   ประเภทขององค์การ
1. ยึดตามวัตถุประสงค์เป็นเกณฑ์ แบ่งได้ 4 ประเภท ดังนี้
            1. เพื่อประโยชน์ของสมาชิก ตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ของสมาชิกโดยตรง เช่น พรรคการเมือง สหกรณ์สโมสร สมาคบวิชาชีพ (ครู แพทย์ พยาบาล) เป็นต้น
             2. เพื่อองค์การธุรกิจ ตั้งขึ้นเพื่อกำไร เช่น ห้างร้าน บริษัท ธนาคาร งานอุสาหกรรม เป็นต้น
             3. เพื่อบริการ เป็นองค์การที่ตั้งขึ้นเพื่อสร้างประโยชน์แก่สาธารณทั่งไป เช่น โรงบาล โรงเรียน สมาคบสงเคราะห์ เป็นต้น
             4. เพื่อสวัสดิภาพของประชาชน เป็นองค์การที่ตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน เช่น กระทรวง ทบวง กรม กอง เป็นต้น
2. ยึดโครงสร้างเป็นเกณฑ์ ในการแบ่ง มี 2 ประเภท คือ
             1. แบบเป็นทางการ (Formal Organization) หรือเรียกว่าองค์การรูปใน เพราะว่ามีโครงสร้างอย่างเป็นระบบ มีระเบียบแบบแผนแน่นอน มีกฎหมายรองรับ เช่น บริษัท มูลนิธิ หน่วยราชการ กรม โรงพยาบาล โรงเรียน เป็นต้น
             2. แบบไม่เป็นทางการ (lnformal Organization) หรือเรียกว่า องค์การรูปนัย เนื่องจากองค์การแบบนี้ตั้งขึ้นด้วยความพึงใจ และมีความสัมพันธ์ส่วนตัว ไม่มีการจักโครงการภายใน มีการรวมกันอย่างง่าย ๆ และเลิกล้มได้ง่าย เช่น ครบครัว ศาสนา เป็นต้น
3. ยึดการกำหนดเป็นเกณฑ์ มี 2 ประเภท ดั้งนี้คือ
           1. องค์การขั้นปฐมภูมิ (Primary Organization) หมายถึง องค์การที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติสมาชิกทุกคนต้องเกี่ยวข้องกันมาแต่กำเนิด มีกิจกรรมรวมเฉพาะกลุ่มติดต่อด้วยการส่วนตัว เช่น ครบครัว ศาสนา หมู่บ้าน เป็นต้น
            2. องค์การขั้นทุติยภูมิ (Secondary Organization) หมายถึง องค์การที่มนุษย์ตั้งขั้น สมาชิกมีความสัมพันธ์กันด้วนเหตุผล และความรู้สึกสำนึกอย่างเป็นทางการ ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในองค์การไม่เป็นแบบส่วนตัว เช่น หน่วยงานราชการ ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม โรงเรียน สโมสร โรงพยาบาล เป็นต้น          
  วัตถุประสงค์ขององค์การ
1.เพื่อสร้างคุณค่าที่สังคมปรารถนาโดยเฉพาะหน่วยงานราชการเพื่อบริการประชาชนสร้างสรรค์ความอยู่ดีกินดีให้แก่ประชาชน ตลอดจนคุ้มครองความปลอดภัยต่าง ๆ และพัฒนาประเทศ
2. เพื่อตอบสนองความต้องการของสมาชิกแต่ละคน และกลุ่มต่าง ๆ ในองค์การเพราะความต้องการของสมาชิกในกลุ่มมีความแตกต่างกัน เช่น
                         (1) บางคนต้องการเงิน
                         (2) บางคนต้องเกียรติยศชื่อเสียง
                         (3) บางคนต้องการผลประโยชน์
3. เพื่อความดำรงอยู่และความเจริญขององค์การ สมาชิกทุกคนต้องทำหน้าที่ให้ดีที่สุด เพื่อให้องค์การบรรลุเป้าหมาย เช่น งานราชการ ต้องทำหน้าที่บริการประชาชน งานธุรกิจเอกชน ต้องทำหน้าที่ให้ได้กำไรมากที่สุด ท้ายสุดองค์การก็เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าต่อไป
      สรุปแล้ววัตถุประสงค์ขององค์การ มีดังนี้
                         (1) สร้างสรรค์สินค้าและบริการ
                         (2) สนองตอบความต้องการของสมาชิกและสังคม
                         (3) ความดำรงอยู่ตลอดไป

สืบค้นเมื่อ 31/10/17


         


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

👄การจัดการงานอาชีพ👄 ☕การจัดการ หมายถึง กระบวนการจัดการทรัพยากร เงิน งาน บุคคล ให้เป็นไปเพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดของกิจกา...